เป็นโครงการที่ใช้ IoT ที่เริ่มต้นมาจากความตั้งใจของพนักงาน 1 คน

เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจำนวนมหาศาลที่เดินเครื่องในโรงงาน ซึ่งโดยปกติเครื่องทำงานอยู่หรือไม่จะดูได้จากสัญญาณไฟที่ตัวเครื่องแต่ละเครื่อง

เพื่อพิสูจน์ว่าการทำงานแบบ Analog นี้ เราสามารถใช้ IoT เข้ามาแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ จึงได้รวมกลุ่มพนักงานจาก 1 คน เป็น 2 คน และ 3 คนขึ้นมาทำโครงการนี้

Project member

  • Manager ส่วนงาน Support

    Naoki Shibata(柴田 直紀)

    เข้าทำงานเมื่อปี 2008

    Project Manager ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการแสดงข้อมูลและระบบ Cloud

  • ส่วนงาน Support
    Senior Supervisor

    Yuki Yoshinaga(吉永 祐貴)

    เข้าทำงานเมื่อปี 2016

    Project Starter รับหน้าที่ดูแลด้าน Hardware และ Sensor ต่างๆ

  • Programmer

    สมฤทัย อรรคจันทร์(Somruthai Akkachan)

    เข้าทำงานเมื่อปี 2016

    เข้าร่วมโครงการใน Step ที่ 2 ในการปรับใช้งานกับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่

Objectives

เนื่องด้วยบริษัทของเรามีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอยู่ประมาณ 800 เครื่อง ซึ่งที่ผ่านมาการตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องจักร ต้องใช้คนที่ทำงานในหน้างานไปดูที่เครื่องจักรโดยตรงเท่านั้น ทำให้เวลาเครื่องหยุด ต้องใช้เวลานานมากกว่าข้อมูลจะขึ้นมาถึงผู้ทำหน้าที่จัดการ เหตุนี้จึงเกิดเป็นวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ขึ้นมา ที่จะใช้ IoT ที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันมาสำรวจสถานะการทำงานของเครื่องจักรตามเวลาจริง ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการเครื่องจักรที่มีจำนวนมหาศาลนี้ได้ และสามารถตัดสินใจในการบริหารกิจการได้อย่างรวดเร็ว

จากความท้าทายของพนักงาน 1 คน สู่โครงการของบริษัท

แต่เดิมผมอยู่แผนกการผลิต ซึ่งตอนนั้นผมคนเดียวได้เริ่มทดลองโครงการเก็บข้อมูลสถานะการทำงานเครื่องจักรด้วย Sensor
ในขั้นตอนการใช้ Sensor ระบุสถานะการทำงานของเครื่องจักรและส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เนทนั้น ผมสามารถทำได้คนเดียว แต่หลังจากนั้นผมไม่รู้วิธีที่จะ Visualize แสดงข้อมูลออกมา จึงได้มาปรึกษากับทางคุณ Shibata ที่แผนก IT ซึ่งเรื่องของผมได้รับความสนใจจากคุณ Shibata เป็นอย่างมาก จึงช่วยรับหน้าที่ดูแลในส่วนของ Visualize ข้อมูลให้
หลังจากนั้น ก็มีความเห็นกันว่า “เรื่องนี้ควรจะดำเนินการในระดับบริษัท” จึงมีการจัดเวทีสำหรับอธิบายเรื่องที่พวกเรากำลังทำอยู่ขึ้นมา และได้รับการอนุมัติกลายเป็นโครงการของบริษัทอย่างเป็นทางการในที่สุด และตัวผมก็ได้ย้ายมาทำงานในแผนกของคุณ Shibata แล้วครับ

การคัดเลือก Sensor กับการทดลองที่ผิดพลาดซ้ำๆ

ในขั้นแรกเราได้ทำการเลือก “Sensor” ที่จะมาทำหน้าที่ระบุสถานะการทำงานของเครื่องจักร เราได้ทำการทดลองใช้ Sensor มากกว่า 20 แบบ และได้เลือกจากในกลุ่มนั้นมาใช้
โดยตอนแรกเราได้ใช้ Sensor ระบบสัมผัสแบบง่ายๆ โดยให้สัมผัสกับตัวงานและนับจำนวนครั้งที่สัมผัสและส่งข้อมูลเข้าระบบ แต่ว่าการสัมผัสนั้นก็ทำให้เกิดการเคลื่อนที่เล็กน้อย จึงมีความกังวลเป็นอย่างมากว่าอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายและอายุการใช้งานที่อาจจะสั้นอีกด้วย
จากนั้นเราได้เปลี่ยนมาใช้ Sensor แบบไม่สัมผัส (Infrared) แต่ด้วยสภาพในโรงงานที่มีน้ำมันอยู่มากทำให้การสะท้อนของ Infrared ผิดเพี้ยนไปและเกิดความผิดพลาดขึ้น จึงสรุปว่าน่าจะใช้ Infrared ไม่ได้เช่นกัน
เราจึงคิดว่า “แล้วมีทางอื่นที่สามารถวัดแล้วผิดพลาดน้อยกว่านี้อีกไหม” ในระหว่างที่กำลังมุ่งสนใจกับ Sensor แบบไม่สัมผัสอยู่นั้น ก็ได้นึกถึง “Sensor ไฟฟ้า” ขึ้นมา โดย Sensor ไฟฟ้านั้น แม้จะมีความผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขให้มีความเสถียรได้ด้วยการเขียนโปรแกรมและการออกแบบวงจรที่เหมาะสม ที่ทำมาทั้งหมดถึงตรงนี้ก็กินเวลาไปประมาณครึ่งปีเลยครับ

เริ่มทำการ Visualize ข้อมูลอย่างทุลักทุเล

งานต่อมาเป็นการ Visualize ข้อมูลที่เก็บมาด้วย Sensor แต่ในช่วงแรกนั้นผมไม่มีไอเดียเลยว่าจะส่งข้อมูลไปไว้ที่ไหนอย่างไรและจะทำ Visualization อย่างไรดี ที่ผ่านมาก็พอจะรู้จัก “IoT” ที่เป็นที่พูดถึงกันทั่วโลกอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ทราบว่าจะต้องใช้ Software แบบไหนหรือจะเริ่มจากตรงไหนดี มันสับสนไปหมด ผมเองก็พยายามอ่านทั้งหนังสือและค้นคว้าจากอินเตอร์เนทไปด้วยทำไปด้วยอย่างทุลักทุเล
จากนั้นก็ได้รู้จักกับ Application ชื่อ Azure ของ Microsoft และได้เริ่มใช้ดู แต่ตอนนั้นผมอ่านหน้า Guideline ของ Azure แล้วก็มีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจถึง 80% ก็เลยซื้อหนังสือมาและค้นคว้าในอินเตอร์เนทอีก เป็นการเริ่มต้นด้วยตนเองคนเดียว ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ตัวโครงการก็ค่อยๆเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ซึ่งก็มีทั้งส่วนที่พอทำได้และส่วนที่ยังไม่เข้าใจอยู่ เลยได้สอบถามไปยัง Microsoft ซึ่งปกติแล้วงานแบบนี้คนที่ทำจะเป็นแผนก IT ทาง Microsoft จึงแปลกใจว่า “เพิ่งเคยเจอมือสมัครเล่นจากฝ่ายผลิตมาทำแบบนี้” และได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังให้ความร่วมมือและเข้ามาให้ความช่วยเหลือประมาณเดือนละ 1 ครั้งด้วย

ช่วงใกล้ปิด Step1, พัฒนาไปเป็นโครงการที่เป็น “ความคาดหวัง” ของบริษัท

ปัจจุบัน เราอยู่ในขั้นที่สามารถจะบริหารจัดการเครื่องจักรแบบรวมศูนย์ได้แล้ว โดยทำผ่านทางอินเตอร์เนทที่ได้รับการส่งข้อมูลสัญญาณสีเขียว, เหลือง, แดง มาจาก Computer ขนาดเล็กที่ติดอยู่กับเครื่องจักรแต่ละเครื่อง แม้ว่าจะยังไม่ได้รายงานความสำเร็จนี้ แต่ความคาดหวังของบริษัทก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีเสียงชื่นชมยินดีต่างๆ พูดถึงมากขึ้น เช่น “อยากให้ทำไวๆ” หรือ “เมื่อไหร่จะเสร็จเหรอ” เป็นต้น อีกทั้งยังมีความต้องการจากบริษัทในความสามารถอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแผนโครงการแต่แรกเพิ่มมาด้วย เช่น “อยากให้สามารถระบุสาเหตุที่เครื่องจักรหยุด ใส่ลงในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้” เป็นต้น หรือการบันทึกการทำงานต่างๆ ที่ปกติจะบริหารจัดการโดยใช้ Check Sheet ที่เป็นกระดาษบันทึกว่า “ทำอะไรกี่โมงกี่นาที” ก็มีคำขอว่าอยากให้สามารถส่งข้อมูลและบริหารจัดการด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิคได้ เป็นต้น มีคำขอที่เป็นการช่วยเหลืองานของฝ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ครับ

เริ่ม Step2 สู่ความท้าทายใหม่

ใน Step2 ของโครงการ เราพยายามที่จะลดการใช้กระดาษ โดยการ input ข้อมูลด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ และให้เครื่องทำการเรียนรู้ที่เรียกว่า Machine Learning โดยใส่ข้อมูลเข้าไปทีละน้อยให้วิเคราะห์ ซึ่งเราหวังว่าในอนาคต เราจะสามารถเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ได้แบบอัตโนมัติและให้ AI (Artificial Intelligence) ระบุสาเหตุที่ Error ได้
แต่ทั้งนี้ ด้วยตัวระบบปัจจุบัน ก็ทำให้เราสามารถมองเห็นสถานะการทำงานที่แท้จริงได้แล้ว และทำให้เราทราบเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่า ในบริษัทยังมีข้อมูลและสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่ได้ถูกใช้งานอยู่อีกมาก ทำให้เราอยากที่จะรวบรวมเอามาทำให้เป็นดัชนีชี้วัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับการบริหารกิจการต่อไป
ผมอยากสนับสนุนพัฒนาบริษัท ด้วยการสร้างระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบริษัทกลึงโลหะที่มุ่งจะเป็นอันดับ 1 ของโลกครับ ด้วยเหตุนี้แม้ว่าจะมีเรื่องที่ต้องทำอีกหลายเรื่องแต่ผมก็อยากที่จะสนุกไปกับการทำสิ่งเหล่านั้นด้วยครับ

Contact us

Email us